Pip และ Lot

ทำความรู้จักกับ Pip และ Lot

จากตรงนี้ต้องใช้ความสามารถทางคณิตศาสตร์นิดหน่อย บางทีคุณอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วกับคำว่า Pip และ Lot ก่อนหน้านี้ และตอนนี้เราจะมาอธิบายว่ามันคืออะไรและมีวิธีคิดอย่างไร

คุณต้องใส่ใจกับมันหน่อย เพราะว่ามันเป็นความรู้ที่นักเทรด forex ทุกคนควรจะรู้ อย่าคิดเรื่องเทรดจนกว่าคุณจะรู้สึกว่าคุณเข้าใจว่า pip และการคำนวณกำไรขาดทุน

pip คืออะไร?

การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่าเงินเรียกว่า pip

ถ้า EUR/USD เคลื่อนไหวจากราคา 1.2250 ไปที่ราคา 1.2251 เรียกว่า 1 pip ซึ่ง 1 Pip คือตัวเลขทศนิยมตัวสุดท้ายของค่าเงินจากตัวทศนิยมสี่ตัว (ซึ่งบางครั้งก็ก็อาจจะมีถึงห้าจุด ซึ่งบ่งบอกถึงจำนวน pip เหมือนกัน) ซึ่งเราสามารถใช้ Pip ในการประมาณผลกำไรขาดทุนได้ แต่ละค่าเงินมีมูลค่าที่แตกต่างกัน เราจำเป็นต้องคำนวณมูลค่าของเงินต่อความเคลื่อนไหวต่อ pip ก่อนในค่าเงินที่ที่ค่าเงินดอลล่าร์อยู่ข้างหน้า จะถูกคิดดังนี้

สมมติเป็นคู่เงิน USD/JPY มีอัตราแลกเปลี่ยนอยูที่ 119.80

(สังเกตุว่าค่าเงินดังกล่าวจะมีแค่สองจุดทศนิยม ซึ่งค่าเงินส่วนใหญ่จะมีสี่)

ในกรณีของ USD/JPY เคลื่อนไหว 1 จุดจะเท่ากับ .01 ดังนั้น

USD/JPY : 119.80

.01 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip value

.01/119.80 = 0.0000834

ซึ่งออกจะยาวไปหน่อย แต่เดี๋ยวเราจะเริ่มคำนวณขนาดของ lot กัน

USD/CHF : 1.5250

.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip value

.0001 / 1.5250 = 0.0000655

USD/CAD : 1.4890

.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip value

.0001 / 1.4890 = 0.00006715

ในกรณีที่ค่าเงินดอลล่าร์อยู่ข้างหลัง การหาค่าจะมีวิธีการเพิ่มขึ้นอีกหน่อย ดังนี้

EUR/USD : 1.2200

.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip value

ดังนั้น

.0001 / 1.2200 = EUR 0.00008196

แต่ว่าเราต้องคิดกลับไปเป็นค่าเงินดอลล่าร์อีกทีซึ่งก็คือ EUR x อัตราแลกเปลี่ยน

ดังนั้น

0.00008196 x 1.2200 = 0.00009999

เมื่อเราปัดเศษ ก็จะได้ 0.0001

GBP/USD : 1.7975

.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยน = pip value

ดังนั้น

.0001 / 1.7975 = GBP 0.0000556

แต่เราต้องกลับไปคิดเป็นค่าเงินดอลล่าร์อีกทีหนึ่งซื่งเท่ากับ GBP x อัตราแลกเปลี่ยน

ดังนั้น

0.0000556 x 1.7975 = 0.0000998

ถ้าเราปัดเศษทศนิยมก็จะได้ 0.0001

บางทีตอนนี้คุณกำลังอาจจะคิดอยู่ก็ได้ว่า ตกลงแล้วเราต้องคิดทั้งหมดทุกคู่ตลอดเลยรึเปล่า คำตอบคือไม่ เกือบทุกโบรกเกอร์จะมีรายละเอียดนี้ให้คุณอยู่แล้ว แต่มันก็ดีที่คุณจะรู้ว่ค่าเหล่านี้ามาจากไหน จะบอกว่าเรื่องนี้มีประโยชน์ยังไงในบทต่อๆไป


Lot คืออะไร?

             forex จะเทรดเป็น lot ขนาดมาตรฐานของ 1 ลอทคือ 100,000 ยูนิต ซึ่งก็มีบัญชีแบบมินิลอทเหมือนกันซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 10,000 ยูนิท และอย่างที่บอกว่าค่าเงินนั้นคิดเป็น pip เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของค่าเงินนั้นๆ ในการที่จะทำให้เราได้ประโยชน์จากจุดเล็กๆจุดนี้ คือเราต้องเทรดจำนวนมากจึงจะเห็นกำไร-ขาดทุนชัดเจน
เช่น เราใช้ 100,000 ยูนิท (เท่ากับ 1 สแตนดาร์ดลอท) ลองยกมาคำนวณเพื่อให้เห็นว่ามันส่งผลยังไง
USD/JPY ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 119.80
(.01/119.80)x100,000 = 8.34 เหรียญต่อจุด 
USD/CHF ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ1.4555
(.0001/1.4555)x100,000 = 6.87 เหรียญ ต่อจุด 
ถ้าในกรณีที่เงินดอลล่าร์อยู่ข้างหลัง การคำนวณก็จะแตกต่างกันเล็กน้อย
EUR/USD ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 1.1930 
(.0001/1.1930)x100,000 = 8.38x1.1930 = 9.99734 ถ้าปัดเศษได้ก็จะเท่ากับ 10 $ ต่อจุด 
GBP/USD ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 1.8040 (.0001 / 1.8040) x 100,000 = 5.54 x 1.8040 = 9.99416 ถ้าปัดเศษก็จะได้เท่ากับ 10 ต่อจุด
             โบรกเกอร์ของคุณอาจจะมีวิธีการคิดมูลค่าของ pip ที่แตกต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการไหนพวกเขาสามารถบอกได้ว่าค่าเงินที่คุณกำลังเทรดมูลค่าต่อหนึ่งจุดนั้นเป็นเท่าไหร่ในช่วงที่คุณกำลังเทรด ซึ่งถ้าตลาดมีการเคลื่อนไหวมูลค่าต่อจุดจะขึ้นอยู่กับค่าเงินที่คุณกำลังเทรดอยู่
แล้วเราจะคำนวณกำไรขาดทุนได้อย่างไร

             ตอนนี้คุณรู้ว่าจะคำนวณมูลค่าต่อจุดอย่างไร ลองมาดูต่อว่าเราจะคำนวณกำไร-ขาดทุนได้อย่างไร
เช่น เราซื้อดอลล่าร์สหรัฐและขายสวิสฯฟรังค์ (usd/chf)
สมมติว่า อัตราแลกเปลี่ยนตอนนี้อยู่ที่ 1.4525/1.4530 (bid/Offer) เพราะว่าคุณกำลังซื้อเงินดอลล่าร์คุณจะได้ราคาที่ 1.4530

             ถ้าซื้อที่ 1 สแตนดาร์ดลอท (100,000 ยูนิท) ที่ราคา 1.4530. ไม่กี่ชั่วโมงต่อมาราคาเคลื่อนไหวขึ้นไปที่ 1.4550 และคุณตัดสินใจที่จะปิด order อัตราแลกเปลี่ยนตอนนี้จะเท่ากับ 1.4550/1.4555 หลังจากที่ปิด order เรากลับไปดูตั้งแต่ที่ซื้อจนปล่อยขายเพื่อปิด order คุณจะได้ราคาที่ 1.4550 ซึ่งเป็นราคาที่เราปิดได้

             ความแตกต่างของ 1.4530 กับ 1.4550 คือ .0020 หรือเท่ากับ 20 pip
เราใช้สูตรก่อนหน้านี้เราก็จะได้ (.0001/1.4550) x 100,000 1= 6.87 ต่อจุด x ด้วย 20 จุดซึ่งจะได้กำไรทั้งหมด 137.40 เหรียญ

             จำไว้ว่าเมื่อคุณเข้าหรือออกจากการเทรด คุณจะต้องจ่ายค่า spread เหล่านั้นด้วย ซึ่งก็คือส่วนต่างระหว่าง Bid/Offer ดังกล่าว

เมื่อ Buy ค่าเงินค่าเงินหนึ่งคุณจะต้องเสนอ(offer)ราคาและเมื่อ Sell คุณก็ต้องตั้ง(Bid)ราคา

** ดังนั้นเมื่อ Buy ค่าเงิน คุณจะต้องจ่าย spread เมื่อเข้าเทรดแต่ไม่ต้องจ่ายเมื่อปิด order

** และเมื่อ Sell ค่าเงินคุณไม่ต้องจ่าย spread ตอนเข้าเทรดแต่คุณจะต้องจ่ายเมื่อคุณปิด order

leverage คืออะไร?

             คุณอาจจะเคยคิดว่านักลงทุนเล็กๆอย่างคุณ จะสามารถเทรดค่าเงินมากมายขนาดนั้นได้อย่างไร ลองคิดเปรียบว่าโบรกเกอร์ก็คือธนาคาร ซึ่งเขาอยากให้คุณซื้อค่าเงินมูลค่า 100,000 เหรียญ โดยที่เขาต้องการเงินจากคุณเพียงแค่ 1,000 เหรียญเพื่อค้ำประกัน ฟังดูง่ายเกินไปในโลกของความจริงใช่ไหม? แต่ว่านี่แหละคือ forex และนี่ก็คือ Leverage ที่เราใช้

จำนวน leverage ที่คุณใช้ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์และขึ้นอยู่กับตัวคุณว่าต้องการใช้เท่าไหร่

             โบรกเกอร์จะให้คุณฝากเงินเข้าที่เราเรียกกันว่า margin หรือ initial margin เมื่อฝากเงินเข้าบัญชี คุณจะสามารถเทรดได้ทันที และโบรกเกอร์ก็จะบอกว่าคุณต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการเทรดจำนวนลอทนั้นๆ
             เช่นถ้า leverage ที่เราใช้เท่ากับ 100:1 (หรือ 1 เปอร์เซ็นต์ของ position ต้องใช้) และคุณต้องการเทรดมูลค่า 100,000 เหรียญ โบรกเกอร์จะเรียกมาร์จิ้น 1,000 เหรียญ ดังนั้นถ้ามีเงิน 5,000 เหรียญจะเทรดได้มากสุดถึง 500,000 เหรียญ
             มาร์จิ้นอย่างต่ำต่อลอทจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละโบรกเกอร์ จากตัวอย่างข้างบนโบรกเกอร์จะต้องใช้มาร์จิ้น 1% ซึ่งหมายความว่า order มูลค่า 100,000 ซึ่งคุณจะต้องฝากเงินเข้าไป 1,000 เหรียญเพื่อที่จะฝากเป็นมาร์จิ้นนั่นเอง
Margin Call คืออะไร?

             ในเหตุการณ์ที่เงินในบัญชีของคุณลดลงจนเหลือน้อยกว่ามาร์จิ้นขั้นต่ำ (มาร์จิ้นที่คุณต้องใช้ในการถือ position) โบรกเกอร์จะทยอยปิด order ที่คุณเปิดอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้บัญชีคุณขาดทุนจนติดลบ โดยเฉพาะเวลาที่ตลาดมีความผันผวนสูง คือราคามีการเคลื่อนไหวกว้าง

ตัวอย่างที่ 1
             คุณเปิดบัญชี FOREX ด้วยเงิน 2,000 เหรียญ(ไม่ใช่ความคิดที่ดี) คุณเปิดบัญชี 1 สแตนดาร์ดลอท (100,000 unit) ของค่าเงิน EUR/USD ซึ่งต้องใช้มาร์จิ้น 1,000 เหรียญ มาร์จิ้นที่เหลืออยู่คุณสามารถเปิด order เพิ่มหรือสามารถรองรับการขาดทุนของ order ที่เปิดอยู่ ตั้งแต่แรกที่เปิดบัญชี 2,000 เหรียญคุณมีมาร์จิ้นที่สามารถใช้เทรดได้ 2,000 เหรียญ แต่เมื่อเทรด 1 สแตนดาร์ดลอทซึ่งจะใช้มาร์จิ้น 1,000 เหรียญและมาร์จิ้นที่จะเหลืออยู่คือ 1,000 ถ้าคุณเสียมากกว่ามาร์จิ้นที่เหลืออยู่คือ 1,000 เหรียญคุณจะโดน margin call
ตัวอย่างที่ 2
             คุณเปิดบัญชีด้วยเงิน 10,000 เหรียญแล้วเปิดบัญชี 1 สแตนดาร์ดลอทของค่าเงิน EUR/USD จะต้องใช้ margin 1,000 เหรียญ มาร์จิ้นที่เหลือเป็นเงินที่สามารถใช้ในการเปิด order หรือเอาไว้รองรับการขาดทุนจาก order ที่เปิดอยู่ ดังนั้ถ้าเปิดที่ 1 standard lot ด้วยมาร์จิ้น 10,000 เหรียญหลังจากเปิด order จะมีมาร์จิ้นเหลืออยู่ 9,000 เหรียญเพราะ 1,000เป็นมาร์จิ้นที่ถูกใช้ไปแล้ว ถ้าคุณเสียมากกว่ามาร์จิ้นที่เหลือ 9,000 เหรียญคุณก็จะถูก margin call ต้องทำความเข้าใจกับความแตกต่างของ
             มาร์จิ้นที่ถูกใช้ไป (used margin) กับมาร์จิ้นที่เหลืออยู่ (usable margin) คืออะไร?

             ถ้ามูลค่ารวมของบัญชีคุณมีน้อยกว่ามาร์จิ้นที่เหลือเนื่องมาจากผลขาดทุนของการเทรด คุณจะต้องฝากเงินเพิ่มหรือไม่เช่นนั้นโบรกเกอร์จะปิด order ของคุณ เพื่อจำกัดความเสี่ยงของคุณและความเสี่ยงของโบรกเกอร์เอง เพื่อไม่ให้คุณเสียมากกว่าที่คุณเทรด

             ถ้าเทรดโดยใช้บัญชีแบบมาร์จิ้น (ยืมเงินโบรกเกอร์เล่นแบบตลาดหุ้น) มันสำคัญมากที่จะต้องเข้าใจนโยบายเกี่ยวกับบัญชีมาร์จิ้นให้ละเอียด

             ควรจะรู้ว่าโบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะเรียกมาร์จิ้นเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ครั้งแรกพวกเขาอาจจะให้ใช้มาร์จิ้นที่ 1% ช่วงกลางสัปดาห์ ถ้าคุณถือ position ข้ามสัปดาห์อาจจะต้องใช้มาร์จิ้นเพิ่มขึ้นจาก 1% เป็น 2% หรืออาจจะสูงกว่านั้น

             เรื่องของมาร์จิ้นเป็นเรื่องที่น่ารำคาญใจ และบางคนบอกว่าการใช้มาร์จิ้นเยอะเกินไปเป็นเรื่องอันตราย ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของแต่ละบุคคล แต่สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือคุณควรจะเข้าใจเงื่อนไขหรือนโยบายเกี่ยวกับมาร์จิ้นของโบรกเกอร์ จะได้เข้าใจถึงความเสี่ยงที่มีอยู่ด้วยนั่นเอง

บางโบรกเกอร์ได้อธิบายเกี่ยวกับการใช้ leverage ในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์มาร์จิ้น โดยใช้หลักการธรรมดาๆระหว่าง 2 แบบคือ

Leverage = 100 / เปอร์เซ็นต์มาร์จิ้น เปอร์เซ็นต์มาร์จิ้น = 100 / Leverage
Leverage ส่วนใหญ่จะแสดงอยู่ในรูปแบบอัตราส่วน เช่น 100 :1 หรือ 200 : 1